Last updated: 17 ธ.ค. 2567 | 613 จำนวนผู้เข้าชม |
ประกาศผลพลังงานหมุนเวียนรอบ 2 คึกคัก บมจ.มากันเพียบ
กกพ. ประกาศผลการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน รอบ 2 แล้ว 72 ราย รวมกว่า 2,145 เมกะวัตต์ เร่งลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าภายใน 14-60 วัน GUNKUL, SCG, TPIPP, GPSC, WEH, EGCO, TSE, UBE, EA, BGRIM, WHAUP, BANPU เข้า Win ถ้วนหน้า
นายพูลพัฒน์ ลีสมบัติไพบูลย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) เปิดเผยว่า ได้ลงนามในประกาศรายชื่อผู้ยื่นขอผลิตไฟฟ้าเพิ่มเติมที่ได้รับการคัดเลือก ตามระเบียบคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ว่าด้วยการจัดหาไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ Feed-in Tariff (FiT) ปี 2565-2573 สำหรับกลุ่มไม่มีต้นทุนเชื้อเพลิง พ.ศ. 2565 (เพิ่มเติม) พ.ศ. 2567 ซึ่งคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน เห็นชอบผลการคัดเลือกผู้ยื่นขอผลิตไฟฟ้าเพิ่มเติมจำนวน 72 ราย ปริมาณพลังไฟฟ้าที่เสนอขายรวม 2,145.4 เมกะวัตต์ แบ่งเป็น พลังงานลม จำนวน 8 ราย รวม 565.40 เมกะวัตต์ กำหนดจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ (SCOD) ตั้งแต่ปี 2571-2573 และพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน จำนวน 64 ราย รวม 1,580 เมกะวัตต์ กำหนด SCOD ตั้งแต่ปี 2569-2573
โดยมีการแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 ให้การไฟฟ้าคู่สัญญาแจ้งให้ผู้ยื่นขอผลิตไฟฟ้าทราบและยอมรับเงื่อนไขการลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าภายใน 14 วันนับถัดจากวันที่ สำนักงาน กกพ. ประกาศรายชื่อ
และกลุ่มที่ 2 ให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และผู้ยื่นขอผลิตไฟฟ้าที่มีรูปแบบการเชื่อมต่อสถานีไฟฟ้าเดียวกัน ตกลงรูปแบบการเชื่อมต่อระบบไฟฟ้าและค่าใช้จ่ายตามหลักการแบ่งปันสิ่งอำนวยความสะดวกร่วมกัน และยอมรับเงื่อนไขการลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าภายใน 60 วัน นับถัดจากวันที่ประกาศผลการคัดเลือก
สำหรับรายชื่อผู้ได้รับคัดเลือกสำหรับผู้ผลิตไฟฟ้าพลังงานลม จำนวน 8 ราย ประกอบด้วย
1.บริษัท วินด์ ขอนแก่น 2 จำกัด จำนวน 90 เมกะวัตต์
2.บริษัท กันกุล วิน ดีเวลลอปเมนท์ 1 จำกัด จำนวน 41.6 เมกะวัตต์
3.บริษัท ด่านขุนทด วินด์ ทู จำกัด จำนวน 89.7 เมกะวัตต์
4.บริษัท บำเหน็จณรงค์ วินด์ จำกัด จำนวน 89.7 เมกะวัตต์
5.บริษัท กันกุล วิน ดีเวลลอปเมนท์ 8 จำกัด จำนวน 90 เมกะวัตต์
6.บริษัท กันกุล วิน ดีเวลลอปเมนท์ 6 จำกัด จำนวน 90 เมกะวัตต์
7.บริษัท กันกุล วิน ดีเวลลอปเมนท์ 3 จำกัด จำนวน 62.4 เมกะวัตต์
8.บริษัท สมาร์ท คลีน ซิสเท็ม 1 จำกัด จำนวน 12 เมกะวัตต์
ส่วนรายชื่อผู้ได้รับคัดเลือกสำหรับผู้ผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน จำนวน 64 ราย ประกอบด้วย
1.บริษัท โซลาริสท์ หนองยวง จำกัด จำนวน 37 เมกะวัตต์
2.บริษัท บางกอกโซลาร์ พาวเวอร์ จำกัด จำนวน 8 เมกะวัตต์
3.บริษัท โซลาริสท์ นาแก้ว จำกัด จำนวน 72 เมกะวัตต์
4.บริษัท โซลาริสท์ บ้านเอื้อม จำกัด จำนวน 48 เมกะวัตต์
5.บริษัท เฮลิออส 2 จำกัด จำนวน 61.4 เมกะวัตต์
6.บริษัท เฮลิออส 1 จำกัด จำนวน 48.6 เมกะวัตต์
7.บริษัท บางกอกโซลาร์ พาวเวอร์ จำกัด จำนวน 4 เมกะวัตต์
8.บริษัท กันกุล วัน เอ็นเนอร์ยี 9 จำกัด จำนวน 19.4 เมกะวัตต์
9.บริษัท ดับบลิวเอชเอ โซล่าร์ จำกัด จำนวน 8 เมกะวัตต์
10.บริษัท กันกุล วัน เอ็นเนอร์ยี 5 จำกัด จำนวน 7.8 เมกะวัตต์
11.บริษัท โซล่าร์ วิซิเบิล จำกัด จำนวน 8 เมกะวัตต์
12.บริษัท โซล่าร์ วิซิเบิล จำกัด จำนวน 7 เมกะวัตต์
13.บริษัท อี แอนด์ ที พลังงานหมุนเวียน จำกัด จำนวน 90 เมกะวัตต์
14.บริษัท ไทยโซล่าร์ เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) จำนวน 7.6 เมกะวัตต์
15.บริษัท ไทยโซล่าร์ เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) จำนวน 7.6 เมกะวัตต์
16.บริษัท ไออาร์พีซี คลีน พาวเวอร์ จำกัด จำนวน 74.88 เมกะวัตต์
17.บริษัท พิจิตรไบโอเพาเวอร์ จำกัด จำนวน 4 เมกะวัตต์
18.บริษัท พิจิตรไบโอเพาเวอร์ จำกัด จำนวน 8 เมกะวัตต์
19.บริษัท พิจิตรไบโอเพาเวอร์ จำกัด จำนวน 2 เมกะวัตต์
20.บริษัท บีจี เอ็นเนอร์ยี่ โซลูชั่น จำกัด จำนวน 3 เมกะวัตต์
21.บริษัท อัลเตอร์วิม จำกัด จำนวน 90 เมกะวัตต์
22.บริษัท กันกุล วัน เอ็นเนอร์ยี 5 จำกัด จำนวน 7.8 เมกะวัตต์
23.บริษัท โซล่าร์ วิซิเบิล จำกัด จำนวน 3 เมกะวัตต์
24.บริษัท โซล่าร์ วิซิเบิล จำกัด จำนวน 6.2 เมกะวัตต์
25.บริษัท โซล่าร์ วิซิเบิล จำกัด จำนวน 7 เมกะวัตต์
26.บริษัท โซล่าร์ วิซิเบิล จำกัด จำนวน 4 เมกะวัตต์
27.บริษัท บีจี เอ็นเนอร์ยี่ โซลูชั่น จำกัด จำนวน 5.3 เมกะวัตต์
28.บริษัท โซลาริสท์ แม่ปุ จำกัด จำนวน 51 เมกะวัตต์
29.บริษัท โซลาริสท์ น้ำพุ จำกัด จำนวน 90 เมกะวัตต์
30.บริษัท เฮลิออส 4 จำกัด จำนวน 8 เมกะวัตต์
31.บริษัท อี แอนด์ ที พลังงานหมุนเวียน จำกัด จำนวน 44.5 เมกะวัตต์
32.บริษัท เอ็กโก คลีนเทค จำกัด จำนวน 27 เมกะวัตต์
33.บริษัท โซล่าร์ วิซิเบิล จำกัด จำนวน 8 เมกะวัตต์
34.บริษัท เอ็กโก คลีนเอ็นเนอร์ยี่ จำกัด จำนวน 4.2 เมกะวัตต์
35.บริษัท ไทยโซล่าร์ เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) จำนวน 7.4 เมกะวัตต์
36.บริษัท ไทยโซล่าร์ เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) จำนวน 6.8 เมกะวัตต์
37.บริษัท ไทยโซล่าร์ เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) จำนวน 5.5 เมกะวัตต์
38.บริษัท ไทยโซล่าร์ เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) จำนวน 6.6 เมกะวัตต์
39.บริษัท ไทยโซล่าร์ เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) จำนวน 8 เมกะวัตต์
40.บริษัท โซล่าร์ วิซิเบิล จำกัด จำนวน 5 เมกะวัตต์
41.บริษัท โซล่าร์ วิซิเบิล จำกัด จำนวน 8 เมกะวัตต์
42.บริษัท ทีเอสอี รูฟทอป จำกัด จำนวน 6 เมกะวัตต์
43.บริษัท ไทยโซล่าร์ เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) จำนวน 4.4 เมกะวัตต์
44.บริษัท เอ็กโก คลีนเทค จำกัด จำนวน 21.6 เมกะวัตต์
45.บริษัท สมาร์ท คลีน ซิสเท็ม 2 จำกัด จำนวน 8 เมกะวัตต์
46.บริษัท สมาร์ท คลีน ซิสเท็ม 2 จำกัด จำนวน 5.55 เมกะวัตต์
47.บริษัท ทีเอสอี รูฟทอป จำกัด จำนวน 4 เมกะวัตต์
48.บริษัท สมาร์ท คลีน ซิสเท็ม 2 จำกัด จำนวน 13.2 เมกะวัตต์
49.บริษัท ทีเอสอี รูฟทอป จำกัด จำนวน 8 เมกะวัตต์
50.บริษัท อุบล เวลธ์ 1 จำกัด จำนวน 50 เมกะวัตต์
51.บริษัท เอ็กโก คลีนเอ็นเนอร์ยี่ จำกัด จำนวน 35 เมกะวัตต์
52.บริษัท บีจี เอ็นเนอร์ยี่ โซลูชั่น จำกัด จำนวน 4.9 เมกะวัตต์
53.บริษัท อุบล เวลธ์ 1 จำกัด จำนวน 40 เมกะวัตต์
54.บริษัท อี แอนด์ ที พลังงานหมุนเวียน จำกัด จำนวน 28 เมกะวัตต์
55.บริษัท อี แอนด์ ที พลังงานหมุนเวียน จำกัด จำนวน 35 เมกะวัตต์
56.บริษัท อี แอนด์ ที พลังงานหมุนเวียน จำกัด จำนวน 33 เมกะวัตต์
57.บริษัท บ้านปู เน็กซ์ กรีน เอนเนอร์จี จำกัด จำนวน 6.6 เมกะวัตต์
58.บริษัท สมาร์ท คลีน ซิสเท็ม 2 จำกัด จำนวน 12.37 เมกะวัตต์
59.บริษัท โซล่าร์ วิซิเบิล จำกัด จำนวน 8 เมกะวัตต์
60.บริษัท ราชบุรี เอนเนอร์ยี ฟาร์ม จำกัด จำนวน 65 เมกะวัตต์
61.บริษัท เจเจที เอนเนอร์ยี จำกัด จำนวน 80 เมกะวัตต์
62.บริษัท เมืองกาญจน์ เอนเนอร์ยี จำกัด จำนวน 52 เมกะวัตต์
63.บริษัท อี แอนด์ ที พลังงานหมุนเวียน จำกัด จำนวน 50 เมกะวัตต์
64.บริษัท เอ็กโก คลีนเอ็นเนอร์ยี่ จำกัด จำนวน 79.8 เมกะวัตต์
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กลุ่มบริษัทที่ได้รับคัดเลือกจำนวนเมกะวัตต์รวมมากที่สุด คือ GUNKUL จำนวน 319 เมกะวัตต์ รองลงมาคือ SCG จำนวน 298 เมกะวัตต์ TPIPP จำนวน 281 เมกะวัตต์ GPSC จำนวน 193 เมกะวัตต์ WEH จำนวน 179 เมกะวัตต์ EGCO จำนวน 168 เมกะวัตต์ TSE จำนวน 136 เมกะวัตต์ UBE จำนวน 90 เมกะวัตต์ EA จำนวน 90 เมกะวัตต์ BGRIM จำนวน 51 เมกะวัตต์ WHAUP จำนวน 8 เมกะวัตต์ BANPU จำนวน 7 เมกะวัตต์ ที่เหลือเป็นอื่น ๆ รวมกัน 326 เมกะวัตต์
ทางด้าน ดร.แคทลีน มาลีนนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทย โซล่าร์ เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ TSE ได้แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ว่า ตามที่ สำนักงาน กกพ. ได้ประกาศรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ FIT ทางกลุ่มบริษัทได้ยื่นข้อเสนอเข้าร่วมโครงการและได้รับการคัดเลือกเป็นผู้ผลิตและขายไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ในโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน จำนวน 21 โครงการ กำลังการผลิตเสนอขายรวม 136.1 เมกะวัตต์ โดยมีสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) เป็นระยะเวลา 25 ปี โครงการพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดินมีอัตรารับซื้อไฟฟ้าในรูปแบบ FIT เท่ากับ 2.1679 บาทต่อกิโลวัตต์-ชั่วโมง ตลอดอายุสัญญา มีมูลค่าการลงทุนกว่า 4,000 ล้านบาท
ปัจจุบัน TSE มีโครงการโรงไฟฟ้าทั้งหมด 41 โครงการ กำลังการผลิตเสนอขายรวม 241.86 เมกะวัตต์ แบ่งเป็นโครงการที่เปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ (COD) แล้ว 34 โครงการ และโครงการที่ยังไม่เปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์อีก 7 โครงการ และเมื่อรวมกับผลการชนะการประมูลในครั้งนี้อีก 136.1 เมกะวัตต์ ส่งผลให้บริษัทฯ มีกำลังการผลิตรวมเพิ่มขึ้นเป็น 377.9 เมกะวัตต์เสนอขาย
25 เม.ย 2568
24 เม.ย 2568
25 เม.ย 2568