พีทีจี เอ็นเนอยี จำกัด (มหาชน)

Last updated: 25 พ.ย. 2565  |  266 จำนวนผู้เข้าชม  | 

พีทีจี เอ็นเนอยี จำกัด (มหาชน)

PTG เปิดตัว MAX VENTURES ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจสตาร์ทอัพ

MAX VENTURES แหล่งสร้างรายได้และจัดหาโซลูชันใหม่ ๆ ให้กับบริษัทในเครือ PTG พร้อมเดินหน้าเฟ้นหาพันธมิตรสตาร์ทอัพสุดยอดไอเดียและสร้างโอกาสการเติบโตทางธุรกิจ ทั้งในและต่างประเทศ หวังปั้นธุรกิจร่วมกับคู่ค้าให้เป็นแกนกลางสำคัญในการสร้างนวัตกรรม ความแข็งแกร่ง และต่อยอดธุรกิจในเครือ PTG เพื่อความอยู่ดีมีสุขของคนไทย

นายพิทักษ์ รัชกิจประการ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท พีทีจี เอ็นเนอยี จำกัด (มหาชน) หรือ PTG เปิดเผยว่า บริษัท แมกซ์ เวนเจอร์ส จำกัด (MAX VENTURES) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ PTG ก่อตั้งขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการเป็น Corporate Venture Capital และเข้าลงทุนเชิงกลยุทธ์ในบริษัทสตาร์ทอัพ (Startup) ที่มีศักยภาพสูงทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อสร้างพันธมิตรทางธุรกิจร่วมกับคู่ค้าในรูปแบบต่าง ๆ และเป็นแกนกลางสำคัญในการสร้างนวัตกรรม หรือ ธุรกิจ New S-Curve รวมถึงการสร้างความแข็งแกร่งและต่อยอดธุรกิจในเครือข่ายของ PTG เพื่อความอยู่ดีมีสุขของคนไทย

ทั้งนี้ MAX Ventures จะทำหน้าที่ในการสร้างรายได้และจัดหาโซลูชันใหม่ ๆ ให้กับบริษัทในเครือ PTG ประกอบด้วย 3 วิธีการ ได้แก่ 1. Incubation เริ่มต้นสร้างธุรกิจใหม่ ตั้งแต่การสรรหาไอเดียใหม่ ๆ ที่มีโอกาสในการพัฒนาเพื่อริเริ่มทดสอบไอเดียกับกลุ่มลูกค้าตลอดจนพัฒนาผลิตภัณฑ์ออกมาเป็นสินค้าและบริการจริงนับเป็นการสร้างธุรกิจใหม่ที่เป็นช่องทางรายได้ใหม่ให้กับบริษัท2.Investmentลงทุนในธุรกิจที่สอดคล้องกับกลยุทธ์ของบริษัทรวมไปถึงธุรกิจที่มีโอกาสเติบโตสูงและช่วยสร้างความอยู่ดีมีสุขให้กับคนไทย และ 3.Co-Creation เป็นการร่วมสร้างธุรกิจ หรือสินค้าและบริการร่วมกับพันธมิตร (Partner) โดยเปิดรับองค์กรทุกรูปแบบสำหรับการทำงานร่วมกันเพื่อสร้างรายได้ให้กับบริษัทและความอยู่ดีมีสุขของคนไทยไปด้วยกัน

อย่างไรก็ตาม ในแต่ละปี MAX Ventures จะมีการจัดโครงการ Incubation Program ในการบ่มเพาะธุรกิจภายนอกองค์กรให้ร่วม Synergy สร้างโซลูชันใหม่ร่วมกับบริษัทในเครือ PTG ซึ่งเป็นโอกาสในการสร้างการเติบโตให้กับธุรกิจ โดยทาง MAX Ventures จะเข้าไปร่วมมือในการออกแบบกิจกรรมของมหาวิทยาลัยให้มีการเตรียมความพร้อมธุรกิจหรือผู้ประกอบการภายใต้การดูแลของมหาวิทยาลัยให้สมัครเข้าร่วมโครงการโดยปัจจุบันมีหน่วยงานในมหาวิทยาลัย จำนวน 5 แห่งที่ร่วม MOU กับ MAX Ventures ประกอบด้วยสถาบันนวัตกรรมบูรณาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยมหิดล, อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, และสำนักเคเอกซ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

สำหรับแนวธุรกิจ MAX Ventures ได้ให้ความสำคัญในการร่วมลงทุนมีด้วยกัน 4 กลุ่มหลัก โดยเกิดจากแนวคิดในการพัฒนาธุรกิจที่เน้นการเชื่อมโยงและการทำงานร่วมกันทั้งจากภายในองค์กรและภายนอกองค์กรได้แก่ 1.Connectionเป็นศูนย์กลางสร้างความเชื่อมโยงธุรกิจที่สามารถ Connect ประชากรคนไทยทุกคนไม่ว่าจะอยู่ในพื้นที่ไหนให้ได้เข้ามาอยู่ในเครือข่ายของPTGทำให้สามารถส่งต่อพัฒนาต่อยอดประสบการณ์ที่ดีให้กับคนไทยได้อย่างกว้างขวาง2.WellnessandWellbeingสร้างศูนย์กลางใหม่ๆเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะและความเป็นอยู่ที่ดีให้กับผู้คนพัฒนาความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับคนไทย 3. Developing Opportunitiesเป็นศูนย์กลางในการสร้างโอกาสให้คนตัวเล็กในการขับเคลื่อนธุรกิจใหม่บนความร่วมมือกับกลุ่มบริษัทPTGในการลดต้นทุนในการดำเนินชีวิตหรือเป็นแหล่งเงินทุนให้กับธุรกิจรายย่อยที่ขาดเงินทุนในการพัฒนาสินค้าและบริการแต่มีโมเดลธุรกิจที่มีโอกาสในการสร้างการเติบโตไปด้วยกันอย่างยั่งยืนโดยธุรกิจที่สนใจในการลงทุนได้แก่ธุรกิจStartupในรูปแบบแพลตฟอร์มเช่นการท่องเที่ยวการขนส่งเป็นต้นและ 4.UnmatchedConveniences(ValueaddedExperience)ธุรกิจที่สามารถมอบประสบการณ์ที่สะดวกสบายและมีคุณค่ากว่าใครให้ลูกค้ารวมถึงธุรกิจที่สามารถพัฒนารูปแบบการใช้ชีวิตของลูกค้าและส่งเสริมสินค้าหรือบริการใหม่ๆของบริษัทในเครือPTGเพื่อตอบสนองความต้องการและพฤติกรรมของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไปตลอดจนการเข้าไปอยู่ในชีวิตความเป็นอยู่ของลูกค้าอย่างยั่งยืน

นอกเหนือจากการลงทุนในทางตรง ด้วยการสนับสนุนด้านการเงินให้แก่สตาร์ทอัพ และทำงานร่วมกันที่กล่าวมาข้างต้นแล้วMAXVenturesยังสนับสนุนด้านองค์ความรู้จากผู้เชี่ยวชาญในกลุ่มธุรกิจ ตลอดจนทรัพยากรอื่น ๆ เพื่อช่วยให้สตาร์ทอัพเติบโตได้อย่างรวดเร็วและยั่งยืน รวมถึงความตั้งใจในการเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนการใช้ระบบนิเวศของสตาร์ทอัพในประเทศไทย

“ตัวอย่างบริษัทที่ MAX Ventures ร่วมลงทุน (Investment Portfolio) คือ 360 TRUCK แพลตฟอร์มจองรถบรรทุกขนส่งที่เล็งเห็นโอกาสการเติบโตของอุตสาหกรรมการขนส่งซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนทุกธุรกิจในประเทศ และมีมูลค่าสูงกว่า 1 ล้านล้านบาทต่อปี โดย 360 TRUCK เป็นแพลตฟอร์มจองรถบรรทุกขนส่งที่มุ่งเน้นการแก้ปัญหา“รถบรรทุกเที่ยวเปล่า”หรือการตีรถเปล่ากลับเมื่อส่งสินค้าที่ปลายทางเสร็จโดยการใช้ระบบจับคู่งานขนส่งอัจฉริยะหรือSmartAlgorithmที่ช่วยจับคู่รถเที่ยวเปล่ากับงานขนส่งซึ่งนอกจากจะช่วยเพิ่มรายได้แล้วยังช่วยให้ผู้ขนส่งสามารถเข้าถึงงานขนส่งที่น่าเชื่อถือทั่วประเทศได้ง่าย ๆ ตลอด 24 ชั่วโมง ผ่านโทรศัพท์มือถือเพียงเครื่องเดียว ซึ่งปัจจุบันแพลตฟอร์ม 360 TRUCK ได้รับการตอบรับที่ดีมากจากผู้ขนส่งรถบรรทุกรวมถึงเจ้าของสินค้าที่มีการใช้รถขนส่งสินค้าเป็นประจำ และมีรถขนส่งเข้าร่วมรับงานอยู่ในระบบแล้วกว่า 58,000 คัน” นายพิทักษ์ กล่าว

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้