ไขข้อสงสัย ค่าไฟทำไมแพงขึ้น และเป็นไปได้หรือไม่ที่ค่าไฟจะลดลง

Last updated: 19 ส.ค. 2566  |  471 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ไขข้อสงสัย ค่าไฟทำไมแพงขึ้น และเป็นไปได้หรือไม่ที่ค่าไฟจะลดลง

 

ไขข้อสงสัย ค่าไฟทำไมแพงขึ้น และเป็นไปได้หรือไม่ที่ค่าไฟจะลดลง

ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าในประเทศไทย เป็นต้นทุนค่าเชื้อเพลิงถึง 43.6% โดยประเทศไทย ใช้ 'ก๊าซธรรมชาติ' เป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟฟ้า 60-65% โดยแบ่งเป็นจากการผลิตจากอ่าวไทย นำเข้าจากเมียนมาร์ และก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG)

ตั้งแต่ปลายปี 2564 ปริมาณการผลิตก๊าซฯ จากอ่าวไทยลดลงมาก ขณะเดียวกันแหล่งก๊าซในเมียนมาร์ มีกำลังการผลิตลดลงอย่างต่อเนื่อง ไทยจึงจำเป็นต้องนำเข้า LNG แบบสัญญาจร (Spot LNG) จากต่างประเทศ ที่มีราคาสูงในปริมาณมากมาชดเชย โดย LNG ที่นำเข้าเหล่านี้มีราคาผันผวนตามสถานการณ์โลก อัตราแลกเปลี่ยน และยังได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์ต่างๆ อีกด้วย ด้วยเหตุนี้ ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าจึงสูงขึ้น ส่งผลให้ค่าไฟฟ้าแพงขึ้น

นอกจากนี้ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ยังรับภาระต้นทุนค่าเชื้อเพลิงในช่วงที่ราคาก๊าซฯ เพิ่มขึ้น เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระประชาชน จึงต้องมีการคืนภาระต้นทุนให้ กฟผ.ด้วย ทำให้มีผลต่อการปรับค่า Ft

แต่ขณะนี้ การผลิตก๊าซฯ ในอ่าวไทย กำลังขยายปริมาณการผลิต และคาดว่ากลางปีหน้า อาจจะได้เห็นราคาค่าไฟฟ้าที่ 4 บาท/ หน่วย ก็เป็นได้

#กองทุนพัฒนาไฟฟ้า #กกพ #พลังงานสะอาด


ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก กองทุนพัฒนาไฟฟ้าสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน พ.ศ. 2565

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้