ทีพีไอ โพลีน เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน)

Last updated: 11 พ.ย. 2563  |  937 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ทีพีไอ โพลีน เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน)

TPIPP ฟอร์มดี โชว์ผลงาน ไตรมาส 3
ปริมาณขายไฟฟ้าทุบสถิติทำนิวไฮ

นายภัคพล เลี่ยวไพรัตน์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายบัญชีและการเงิน บริษัท ทีพีไอ โพลีน เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ TPIPP เปิดเผยว่า ปริมาณขายไฟฟ้าเพิ่มขึ้นทำสถิติสูงสุดใหม่ หลังติดตั้งหม้อต้มไอน้ำบางส่วน (Boiler) แล้วเสร็จเป็นที่เรียบร้อย สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้า ทำให้มีอัตราการใช้กำลังการผลิตสูงกว่า 95% อีกทั้งยังรับผลบวกจากปริมาณการขายไฟฟ้าเพิ่มขึ้น เนื่องจากโรงงานปูนซีเมนต์ของบริษัทแม่ (TPIPL) เริ่มกลับมาเดินเครื่องจักรภายหลังหยุดซ่อมบำรุง ทำให้มีความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้ามากขึ้น

อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ ได้เตรียมความพร้อมในทุกด้าน เพื่อรักษาผลการดำเนินงานเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยมีแผนรองรับสัญญาซื้อขายไฟฟ้าที่จะเริ่มสิ้นสุดการได้รับค่าไฟฟ้าส่วนเพิ่ม (Adder) สำหรับโรงไฟฟ้า 18 MW จะสิ้นสุดอีก 2 ปีข้างหน้า ในเดือนมกราคม 2565 ซึ่งมีสัญญาจำหน่ายไฟฟ้า และอีก 55 MW จะสิ้นสุดในเดือน สิงหาคม 2565 กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (EGAT) ซึ่งแม้จะสิ้นสุดการได้รับค่า Adder แต่ TPIPP ยังคงมีสัญญาจำหน่ายไฟฟ้าแก่ EGAT ที่ราคาไฟฟ้าฐาน ได้ตลอดสัญญาซึ่งสามารถต่ออายุได้

พร้อมกันนี้ TPIPP อยู่ระหว่างก่อสร้างโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงขยะ (RDF) ที่จังหวัดสระบุรี กำลังการผลิตตามสัญญาขายไฟฟ้า 40 MW โดยอยู่ระหว่างการเจรจาสัญญาจำหน่ายไฟฟ้า จากเดิมที่ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงผลิตพลังงานไฟฟ้าให้แก่ TPIPL จะปรับเปลี่ยนเป็นเชื้อเพลิง RDF เพื่อให้โรงไฟฟ้าดังกล่าวผลิตไฟฟ้าและจำหน่ายแก่ EGAT แทน ปัจจุบันอยู่ระหว่างการพิจารณาของกระทรวงมหาดไทย คาดว่าจะรู้ผลต้นปีหน้า

สำหรับความคืบหน้าโครงการเมืองต้นแบบอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคต (Futuristic Advanced Industrial City) อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ล่าสุด เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2563 ที่ประชุมคณะกรรมการที่ปรึกษาผังเมืองรวมจังหวัดสงขลา ได้มีมติ ให้เปลี่ยนผังเมือง อ.จะนะ 3 ตำบล คือ ต.นาทับ ต.สะกอม ต.ตลิ่งชัน จากสีเขียวซึ่งเป็นที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม ให้เป็นสีม่วงซึ่งเป็นที่ดินประเภทอุตสาหกรรม เพื่อรองรับโครงการอุตสาหกรรมก้าหน้าแห่งอนาคต หลังจากนั้นจะมีการเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบและประกาศในราชกิจจานุเบกษา ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวจะทำให้จังหวัดชายแดนภาคใต้มีพื้นที่เหมาะสม มีความพร้อมในการพัฒนาอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคตมากขึ้น ทั้งในด้านสาธารณูปโภค การคมนาคม ท่าเรือน้ำลึก เพื่อขนส่งสินค้าส่งออกและนำเข้าวัตถุดิบ อะไหล่ เครื่องจักร การค้า การลงทุน การธนาคาร การท่องเที่ยว การศึกษา การพัฒนาเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมเพื่อชีวิต ความอยู่ดีกินดีชองสังคม ประชาชนในอนุภาคอาเซียน ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญของการสนับสนุนการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ สามารถรองรับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในระยะยาวต่อไป

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้