น้ำตาลบุรีรัมย์ จำกัด (มหาชน)

Last updated: 26 มี.ค. 2564  |  744 จำนวนผู้เข้าชม  | 

น้ำตาลบุรีรัมย์ จำกัด (มหาชน)

BRR รุกขยายการลงทุนกลุ่มประเทศ CLMV
จับมือพันธมิตรร่วมทุน ผุดโรงงานผลิตเชื้อเพลิงชีวมวลอัดแท่ง
ส่งจำหน่ายไปยังลูกค้าภาคอุตสาหกรรมในประเทศญี่ปุ่น

บมจ.น้ำตาลบุรีรัมย์’ หรือ BRR ขยายการลงทุนในกลุ่มประเทศ CLMV จับมือพันธมิตรทางธุรกิจระหว่าง ราช-ลาว เซอรวิส บริษัทย่อยของ บมจ.ราชกรุ๊ป (RATCH) และ Siphandone Bolaven Development (SPD) ตั้งโรงงานผลิตเชื้อเพลิงชีวมวลอัดแท่ง ในแขวงจำปาสัก สปป.ลาว กำลังการผลิต 80,000-100,000 ตันต่อปี เพื่อจำหน่ายแก่ลูกค้าภาคอุตสาหกรรมในญี่ปุ่น คาดเริ่มขายตามสัญญาได้ภายในไตรมาส 1/2565

นายอนันต์ ตั้งตรงเวชกิจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท น้ำตาลบุรีรัมย์ จำกัด (มหาชน) (บริษัทฯ) หรือ BRR เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ มีมติอนุมัติให้เข้าลงทุนในบริษัท บุรีรัมย์กรีนเอ็นเนอร์จี จำกัด (BGE) โดยบริษัทดังกล่าวจะขยายการลงทุนไปยังกลุ่มประเทศ CLMV ในโครงการผลิตจำหน่ายเชื้อเพลิงชีวมวลอัดแท่ง หรือ Wood Pellet ใน สปป.ลาว เนื่องจากโอกาสการเติบโตของธุรกิจดังกล่าว จากปัจจัยการพัฒนาพลังงานทดแทนเพื่อลดใช้เชื้อเพลิงจากฟอสซิล และลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก

ทั้งนี้ บริษัท บุรีรัมย์กรีนเอ็นเนอร์จี จำกัด (BGE) ได้เป็นพันธมิตรทางธุรกิจกับ บริษัท ราช-ลาว เซอร์วิส จำกัด ซึ่งเป็นเป็นบริษัทย่อยของ บมจ.ราช กรุ๊ป หรือ RATCH ที่จดทะเบียนใน สปป.ลาว และ Siphandone Bolaven Development Company Limited (SPD) ร่วมกันจัดตั้ง บริษัท SIPHANDONE RATCH-LAO Company Limited ในสปป.ลาว ด้วยทุนจดทะเบียน 500 ล้านกีบ หรือประมาณ 1.7 ล้านบาท โดย BGE ถือหุ้น 65% ส่วนพันธมิตรทั้ง 2 รายถือหุ้นในสัดส่วน 25% และ 10% ตามลำดับ

สำหรับโครงการภายใต้บริษัทร่วมทุนในครั้งนี้ จะลงทุนก่อสร้างโรงงานผลิตเชื้อเพลิงชีวมวลอัดแท่ง โดยมีกำลังการผลิต 80,000-100,000 ตันต่อปี ในแขวงจำปาสัก สปป.ลาว โดยใช้พืชโตเร็วและพืชอื่นๆ ที่เหมาะสมในพื้นที่ เพื่อแปรรูปเป็นเชื้อเพลิงชีวมวลอัดแท่งที่มีคุณสมบัติค่าความชื้นต่ำและค่าความร้อนสูง สะดวกต่อการขนส่งและจัดเก็บสต๊อกวัตถุดิบ คาดว่าจะดำเนินการก่อสร้างโรงงานได้ภายในต้นเดือนพฤษภาคม 2564 และจะแล้วเสร็จภายในไตรมาส 1/2565

ทั้งนี้ โรงงานดังกล่าว จะเป็นฐานการผลิตเชื้อเพลิงชีวมวลอัดแท่งเพื่อส่งออกให้แก่ลูกค้าภาคอุตสาหกรรมในประเทศญี่ปุ่น สำหรับใช้เป็นวัตถุดิบในภาคการผลิตรวมถึงเป็นเชื้อเพลิงในโรงไฟฟ้าพลังงานชีวมวล สอดรับนโยบายรัฐบาลญี่ปุ่นที่ผลักดันให้ลดการใช้พลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลลง อีกทั้งยังตอบสนองนโยบายการขยายการลงทุนของกลุ่ม BRR และก่อให้เกิดการสร้างงานและรายได้ให้แก่ประชาชนลาวในแขวงจำปาสัก ซึ่งจะส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีแก่บริษัทฯ อีกทางหนึ่ง

“การจัดตั้งบริษัทร่วมทุน SIPHANDONE RATCH-LAO ในครั้งนี้ เป็นการผสมผสานประสบการณ์และความเชี่ยวชาญของทั้ง 3 ฝ่าย ช่วยสร้างความเข้มแข็งในภาคการผลิตเชื้อเพลิงชีวมวลอัดแท่ง เพื่อส่งออกไปยังประเทศที่มีความต้องการสูงได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเรามีเป้าหมายจะจำหน่ายไปยังลูกค้าภาคอุตสาหกรรมในรูปแบบสัญญาซื้อขายระยะยาวเป็นหลัก” นายอนันต์ กล่าวSAPPE ร่วมกับ ไทย เฮมพ์ เวลเนส ลงนาม MOA ส่งเสริมเกษตรกรเชียงรายปลูกกัญชง ชูเป็นฐานการผลิตต้นน้ำ หนุนอุตสาหกรรมกัญชงแบบครบวงจร พร้อมเปิดตัวผลิตภัณฑ์ผสมสารสกัด CBD และน้ำมันเมล็ดกัญชง ในครึ่งปีหลัง

‘บมจ.เซ็ปเป้’ หรือ SAPPE ร่วมกับ บจ. ไทย เฮมพ์ เวลเนส ลงนาม MOA โครงการส่งเสริมการปลูกพืชกัญชง เพื่อการผลิตและสร้างอาชีพให้กับเกษตรกรและกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดเชียงราย โดยให้การสนับสนุนการลงทุนต้นกล้ากัญชง ปุ๋ยอินทรีย์ และผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์คุณภาพสูงเพื่อเพิ่มผลผลิต ชูเป็นฐานการผลิตต้นน้ำที่สำคัญ คาดเริ่มเพาะปลูกในพฤษภาคมนี้ และจะนำผลผลิตที่ได้สกัดเป็นสาร CBD และน้ำมันเมล็ดกัญชง (hemp seed oil) ซึ่งจะเริ่มเห็นผลผลิตได้ในกันยายนนี้ และจะนำไปต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ในอนาคต

นางสาวปิยจิต รักอริยะพงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เซ็ปเป้ จำกัด (มหาชน) หรือ SAPPE เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2564 บมจ.เซ็ปเป้ ร่วมกับ บจ.ไทย เฮมพ์ เวลเนส ลงนามความร่วมมือและบันทึกข้อตกลง (MOA) ในโครงการ ส่งเสริมการปลูกพืชกัญชง เพื่อการผลิตและสร้างอาชีพให้กับเกษตรกรและกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดเชียงราย โดยแนวทางความร่วมมือในครั้งนี้ จะสนับสนุนการลงทุนสำหรับต้นกล้ากัญชง ปุ๋ยอินทรีย์ และผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์คุณภาพสูง เพื่อเพิ่มผลผลิต พร้อมจัดทีมนักวิชาการให้คำแนะนำการปลูก การดูแลรักษา การเก็บเกี่ยว และการปฏิบัติตามข้อกฎหมาย กับเกษตรกร รวมไปถึงรับซื้อผลผลิตสำหรับพื้นที่เพาะปลูก 200 ไร่

โดยบริษัทฯ ได้เดินหน้าศึกษาการทำธุรกิจกัญชา-กัญชงแบบเต็มรูปแบบ ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ โดยธุรกิจต้นน้ำ บริษัทฯ ได้นำความเชี่ยวชาญ จาก บจ.ไทย เฮมพ์ เวลเนส ซึ่งประกอบกิจการปลูกกัญชงเพื่อนำมาสกัดโดยกรรมวิธีทางวิทยาศาสตร์ นอกจากนี้ ยังเป็นองค์กรธุรกิจที่มีความร่วมมือกับมูลนิธิวนเกษตรอินทรีย์ ซึ่งมีนักวิชาการเชี่ยวชาญด้านการวิจัยสายพันธุ์กัญชง รวมถึงประธานและรองประธานบริษัท บจ.ไทย เฮมพ์ เวลเนส เป็นแพทย์เชี่ยวชาญที่เปิดคลินิกรักษาโดยมีบัตรอนุญาตในการใช้สารสกัดจากกัญชง กัญชารักษาผู้ป่วย มีฐานการผลิตอยู่ที่จ.เชียงราย และจ.แม่ฮ่องสอน ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เหมาะสมต่อการปลูกกัญชง อีกทั้งยังได้รับการรับรองพื้นที่แปลงปลูกด้วยมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ระดับสากล ปัจจุบันอยู่ระหว่างยื่นขอใบอนุญาตสกัดสาร CBD จากพืชกัญชง ส่วนเกษตรกรอยู่ในขั้นตอนการยื่นขออนุญาตปลูกกัญชง คาดว่าจะได้เริ่มทำการเพาะปลูกในเดือนพฤษภาคมนี้ โดยจะนำผลผลิตที่ได้ สกัดเป็นสาร CBD และน้ำมันเมล็ดกัญชง (hemp seed oil) ซึ่งคาดว่าจะเริ่มเห็นผลิตภัณฑ์ดังกล่าวในเดือนกันยายน และนำสารสกัดดังกล่าวต่อยอดไปสู่ผลิตภัณฑ์อื่นๆ ในอนาคต อาทิ อาหารและเครื่องดื่มผสมสารสกัดจากกัญชงพร้อมรับประทาน ซึ่งจะดำเนินการขออนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) อย่างถูกต้อง ก่อนพัฒนาผลิตออกสู่ตลาด

ดร.เสฐียรพงษ์ แก้วสด ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทย เฮมพ์ เวลล์เนส จำกัด เปิดเผยว่า จากนโยบายของรัฐบาลได้เปิดโอกาสให้มีการเพาะปลูกและใช้ประโยชน์จากกัญชงสู่การสร้างเศรษฐกิจฐานชีวภาพ (bioeconomy) ประกอบกับกัญชงเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีมูลค่าสูง เมื่อเทียบกับพืชเชิงเดี่ยวอื่นๆ ที่เกษตรกรปลูกบนพื้นที่ป่าต้นน้ำ ซึ่งการลดสัดส่วนพื้นที่ปลูกพืชเชิงเดี่ยวเหล่านี้ สามารถที่จะทำได้ด้วยการส่งเสริมปลูกกัญชง และพัฒนาพื้นที่ที่เหลือสู่การพื้นฟูให้เป็นสภาพป่าด้วยกระบวนการเกษตร

นอกจากนี้ บริษัท ไทย เฮมพ์ เวลล์เนส จำกัด ได้ส่งเสริมการเพาะปลูกกัญชง เพื่อเป็นวัตถุดิบป้อนเข้าสู่โรงงานสกัด การทำงานได้ร่วมมือกับสำนักงานเกษตรอำเภอ ในพื้นที่จัดตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชนขึ้น เพื่อขอรับอนุญาตในการปลูกกัญชง โดยมีสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดให้ความช่วยเหลือในการพิจารณาอนุญาตในการปลูก โดยได้จัดตั้งคณะทำงานที่เป็นนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร สนับสนุนความรู้ในเชิงเทคนิค การกำกับดูแลควบคุมคุณภาพเพื่อให้ได้ผลผลิตเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด อีกทั้งยังได้ประสานความร่วมมือกับทางมูลนิธิวนเกษตรอินทรีย์ซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญหลากหลายสาขา เข้ามาวางระบบงานส่งเสริมให้ความรู้เกษตรกรเพื่อพัฒนาสู่ความยั่งยืนต่อไป

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้